กำเนิดคริสตจักรยิวเมี่ยนในประเทศไทย

หลังจากที่ประเทศจีนเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์แล้ว มิชชันนารีถูกขับออกจากประเทศจีนรวมทั้งคณะของ ซี.ไอ.เอ็ม. (China inland mission) ก็ต้องถอนตัวออกจากประเทศจีนด้วย ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อคณะเป็น โอ.เอ็ม.เอฟ. (Owensea Mission Fellowship) และได้นิมิตที่ชัดเจนจากพระเจ้าให้เบนเป้าหมายการทำงานจากประเทศจีนมาเป็นประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในราว ค.ศ.1950 มิชชั่นนารี โอ.เอ็ม.เอฟ. ได้มาทำงานในประเทศไทยอย่างเป็นทางการโดยประสานงานกับสภาคริสตจักรในประเทศไทย และนับเป็นคณะที่มีบุคลากรมากกว่าในคณะอื่นๆ ในขณะนั้น คณะโอ.เอ็ม.เอฟ. ได้ทำงานกระจายอยู่ทุกภาคของประเทศไทยและบางส่วนได้ทำงานอยู่ตามชาวเขาเผ่าต่างๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทยสำหรับการทำงานกับยิวเมี่ยนนั้นปรากฏข้อมูลดังนี้

 

การบุกเบิกโดยมิชชั่นนารี

 

ในเดือนกรกฏาคม ค.ศ.1951 มีมิชชันนารีสองคนมาสำรวจดูว่าในประเทศไทยมีพี่น้องชาวเขาเผ่าอะไรบ้าง มิชชันนารีสองคนนี้ชื่อ Orville cawson และ Hap holsinger แต่พี่น้องเมี่ยนเรียกเขาว่า “ย่าง จือฮิน” และ “ย่างจื้-อฮ่วย” ท่านทั้งสองเคยทำงานกับพี่น้องลีซูในยูนานประเทศจีนมาก่อน ก่อนที่จะมาประเทศไทย เมื่อทราบว่าบริเวณหมู่บ้านแม่สลอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย มีพี่น้องลีซูอาศัยอยู่ จึงคิคไปหาและทำการประกาศกับเผ่าดังกล่าวเหมือนที่เคยทำมาในประเทศจีน ขณะที่ไปก็ได้หลงทางไปหมู่บ้านยิวเมี่ยน คือหมู่บ้านแม่สลอง (ปัจจุบันเรียกบ้านเล่าสิบ) และได้พบอักษรจีนที่ท้ายหมู่บ้านเป็นการทำขวัญของคนหมู่บ้านนั้น จึงสร้างความแปลกใจอย่างมากจึงทำให้มิชชันนารีทั้งสองแวะเข้าหมู่บ้านนั้นเพื่อพิสูจน์ความจริง เมื่อทั้งสองเข้าไปก็ได้พบนายชุนเสี่ยว แซ่ฟุ้ง พบว่าเขาสามารถพูดภาษาจีนยูนานได้จึงสนทนากันรู้เรื่อง ข่าวนี้ได้ไปทั่วหมู่บ้านจนถึงหูนายเล่าหลู่(ก๊วยชีง) ซึ่งเป็นหัวหน้าหมู่บ้าน แรกๆ ก็เข้าใจผิดทำให้กลัวมากเพราะคิดว่าเป็นทหารฝรั่งเศสมาตามให้ตนกลับไปยังประเทศลาว จึงหนีไปหลบซ่อนเสีย ต่อมาเมื่อรู้ว่าไม่ใช่เป็นหหารที่ตามตนกลับไปก็ออกจากที่หลบซ่อนกลับให้การต้อนรับเป็นอย่างดีและได้คุยคุยกับมิชชันนารีแลกเปลี่ยนความคิดกันในด้านศาสนา นายเล่าหลู่ให้ความสนใจอย่างมากในเรื่องที่มิชชันนารีได้เสนอ เขาจึงชวนให้มิชชันนารีค้างที่นั่นสองคืน จึงเป็นโอกาสที่นายเล่าหลู่ได้สอบถามหลายอย่างจากมิชชันนารีในเรื่องที่ตนอยากรู้ เช่น เรื่องพระผู้สร้าง ผี มนุษย์มาจากไหน แต่ท่านก็มิได้รับเชื่อ


1. ผลงานครั้งแรก

 

ในขณะที่ยังไม่มีใครรับเชื่อ Allvn cooke ได้มารับช่วงต่อจาก Carlson และ Holsnger ในปี ค.ศ.1952 Cooke ได้เดินทางเข้าหมู่บ้านแม่สลองเพื่อเผยแพร่พระกิตติคุณ เมื่อไปประกาศครั้งที่ 18 นายเล่าหลู่(ก๊วยชีง) ได้รับเชื่อเป็นคนแรกท่ามกลางพี่น้องยิวเมี่ยนเพราะเข้าใจคำสอนของมิชชันนารีดีแล้ว เมื่อได้รับเชื่อแล้วก็ได้รับการต่อต้านจากครอบครัวแต่ท่านยังยืนยันที่จะเชื่อไม่เปลี่ยนแปลง ท่านก็ได้บอกกับญาติพี่น้องว่าตนจะเชื่อไปพลางๆ ก่อน ถ้าไม่ดีตนก็จะเลิกเชื่อไปเอง เวลาผ่านไปเมื่อคนอื่นเห็นกลับเห็นว่าดีเพราะไม่ต้องเลี้ยงผี ไม่ต้องกลัวอำนาจของผี คนอื่นก็ให้ความสนใจ แต่ก็ยังไม่มีใครรับเชื่อ

เล่าหลู่(ก๊วยซีง) และขาวบ้านสมัยนั้นติดฝิ่นกันแทบทุกคน หลังจากที่ท่านรับเชื่อแล้วก็ได้ตัดสินใจเลิกสูบฝิ่นอย่างเด็ดขาดทั้งๆ ที่ท่านติดมาไม่น้อยกว่า 20 ปีแล้ว Cooke ได้นำนายเล่าหลู่(ก๊วยซีง) และคนอื่นๆ ที่ต้องการเลิกสูบฝิ่นมาตัดที่โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊คจังหวัดเชียงราย โดยอยุ่ในความดูแลของแพทย์ Edmedaniel ซึ่งเป็นมิชชันนารีของคณะเพรสไบทีเรียน ต่อมาประมาณสองเดือนนายเล่าหลู่ก็เลิกสูบฝิ่นได้ เมื่อมีคนรับเชื่อแล้วก็มีมิชชันนารี 2-3 คน ขึ้นไปสอนเป็นบางช่วงสลับกันไปและพักอยู่กับนายเล่าหลู่ (ก๊วยซีง) ไปแต่ละครั้งพักอยู่ประมาณ 10 วันและได้นำยารักษาโรคไปด้วยในแต่ละครั้งเพื่อจะแจกให้แก่ผู้จำเป็นจะต้องใช้ มิชชันนารีนี้ชื่อ Lilian Hamer Sylva Lombrd (เลาเจาซู) และ Eileeno’Rourke และในเดือนธันวาคม 1952 ได้ไปประกาศที่ห้วยชมพู เนื่องจากนายเล่าหลู่ (ก๊วยซีง) เป็นผู้ใหญ่บ้านที่ร่ำรวยและมีอิทธิผลจึงสร้างความสนใจและความไว้วางใจแก่ชาวบ้านทั้งคนในหมู่บ้านและใกล้เคียง ต่อมาจึงมีคนเชื่อเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีคนเชื่อเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีคนเชื่อมากขึ้น นายเล่าหลู่กับคนอื่นๆ จึงเชิญให้มิชันนารีมาอยู่อย่างถาวรในหมู่บ้าน แต่ Cooke ท่านปฏิเสธเพราะไม่ได้คิดว่าจะทำงานในท่ามกลางพี่น้องยิวเมี่ยนตลอดไป แต่ครอบครัวของ Enic Cox ได้ตัดสินใจรับคำเชิญนั้น ในท่ามกลางพี่น้องยิวเมี่ยนจะเรียกท่านว่าก๊วยเม่ง ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1953 ได้เริ่มสร้างที่พักให้และในเดือน พฤษภาคม 1953 ก็ได้ไปอยู่ที่แม่สลองและได้จัดตั้งคริสตจักรแห่งแรกขึ้นที่แม่สลองในเดือนมกราคม 1954 ได้ถวายโบสถ์อย่างเป็นทางการและในแต่ละอาทิตย์จะมีคนมานมัสการประมาณ 60-70 คน ทุกวันอาทิตย์จะมีการนมัสการสองรอบ ช่วงเช้า 1 รอบและช่วงบ่าย 1 รอบ และเริ่มมีคนออกไปประกาศในหมู่บ้านใกล้เคียง

 

2. การเริ่มต้นใช้ภาษายิวเมี่ยน

 

การปรับตัวของมิชชันนารี เริ่มแรกต้องใช้ภาษาจีนยูนานหรือจีนฮ่อในการสอน การเทศนาโดยใช้ล่ามแปล แต่ไม่ค่อยสะดวกเพราะบางคำอธิบายยากและศัพท์ศาสนศาสตร์ยิ่งอธิบายได้ไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ประกอบกับสถานการณ์ในประเทศไทยเวลานั้นถูกกลุ่มอิทธิพลของกลุ่มคอมมิวนิสต์รบกวนและภาษาจีนยูนานเป็นภาษาที่ใช้กันในประเทศคอมมิวนิสต์ด้วย มิชชันนารีจึงหลีกเลี่ยงการใช้ภาษายูนานให้น้อยลงเพื่อกันความเข้าใจผิดจากรัฐบาลไทย แต่เนื่องจากมิชชันนารีไม่มีพื้นฐานภาษาไทยเลย จึงใช้ภาษาจีนต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อการฝึกภาษายิวเมี่ยนเพราะเห็นว่าจะเป็นผลดีอย่างมาก เมื่อฝึกภาษายิวเมี่ยนได้เพื่อจะใช้ในการแปลพระคัมภีร์และขยายพระกิตติคุณได้ดีกว่า

ในปี ค.ศ.1955 ได้มีการตัดสินร่วมกันว่าจะใช้อักษาโรมันเพื่อเป็นคำของภาษายิวเมี่ยนและในเดือนกุมภาพันธ์ ก๊วยเม่ง (Enix Cox) ได้เริ่มสอนพี่น้องคริสเตียนในการเรียน การอ่าน และก๊วยเม่งเริ่มเขียนหนังสือเกี่ยวกับหลักข้อขั้นพื้นฐานของคริสเตียนและได้กำหนดศัพท์บางคำขึ้นว่าจะใช้เรียกอะไร เช่น คำว่า พระเจ้า จะเรียกอย่าง? และท่านเห็นว่าคริสตจักรเติบโตช้ามากในด้านฝ่ายจิตวิญญาณมีหลายคนไม่ได้อยากเชื่อ เพื่อรับความรอดจริงๆ เขาเพียงแต่อยากลองว่าพระเจ้ามีฤทธิ์อำนาจเหนือผีจริงหรือไม่เท่านั้น และยังมีหลายคนที่ติดฝิ่งอยู่

เมื่อมีอักษรเป็นของยิวเมี่ยนแล้วก็เริ่มแปลพระคัมภีร์ พระคัมภีร์เล่มแรกที่แปลเสร็จคือ 1ยอห์น และคำอุปมา 4 เรื่อง และหนังสืออื่นๆ อีก และในปีเดียวกันนี้เริ่มมีการใช้เพลงนมัสการและมีการใช้หนังสือชวนอ่าน(เยซู คู้ เฝียน) ซึ่งเป็นชีวประวัติบางตอนของพระเยซู จากพระกิตติคุณ ทำให้คริสตจักรเติบโตในความเชื่อ มีใจร้อนรนขึ้น จึงได้จัดให้มีทีมประกาศอนุชนไปประกาศยังหมู่บ้านอื่นๆ และในปี ค.ศ.1959 กลุ่มคริสเตียนทางเชียงคำเขาใช้อักษรไทยที่พูดเป็นภาษาไทยยิวเมี่ยน

 

3. การรับบัพติศมาครั้งแรก

 

ในช่วงแรกมีเพียงนายเล่าหลู่เท่านั้นที่จะรับศีลบัพติศมาและท่านก็ได้ชวนนายก๊วยเซ็งให้รับศีลบัพติศมาด้วย เมื่อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบในคืนวันเสาร์ แต่พอวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันที่จะให้ศีลบัพติศมาก็มีคนขอรับเพิ่มอีกเป็น 13 คน แล้วก็ได้มีการร่วมรับศีลมหาสนิทซึ่งเป็นครั้งแรก การให้ศีลบัพติศมาครั้งแรกเกิดขึ้นในวันที่ 8 ธันวาคม 1957 และการรับศีลบัพติศมา ครั้งที่สองมีขึ้นในวันที่ 12 มกราคม 1958 มีจำนวน 8 คน และการรับศีลบัพติศมาครั้งที่สามมีขึ้น ในวันที่ 3 กันยายน 1958 มีคนรับเพิ่มอีก 7 คน

ต่อมาให้รับบัพติศมาอีกหลายครั้งและผู้ที่รับบัพติศมานั้นมากจากหมู่บ้านที่ต่างกัน เช่น บ้านแม่แพง บ้านป่าคา บ้านหนองแว่น บ้านนิคม บ้านขุนบง และบ้านคลองลาน รวมผู้รับบัพติศมาแล้วประมาณ 249 คน