mien church banner

 

 

ประวัติคริสตจักรยิวเมี่ยนกรุงเทพ

มิชชันนารี (ครูสอนศาสนา) ต้องออกจากประเทศจีน   เพราะมีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์    หนึ่งในคณะมิชชั่นนารีที่เข้าไปทำพันธกิจอยู่ในเมืองจีนคือคณะ ซี.ไอ.เอ็ม. (China Inland Mission) ต่อมามีชื่อใหม่ว่า โอ.เอ็ม.เอฟ. (Oversea Mission Fellowship) ก็ไต้องออกจากประเทศจีน ส่วนหนึ่งของมิชชั่นนารี OMF ได้เดินทางเข้ามายังประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นในราวปี ค.ศ.1950 มิชชั่นนารี โอ.เอ็ม.เอฟ. ได้เข้ามาสู่ประเทศไทยโดยประสานงานกับสภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย ในขณะนั้น คณะโอ.เอ็ม.เอฟ. มีบุคลากรมากกว่าคณะอื่น ๆ ได้ทำพันธกิจอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ตลอดจนได้ทำพันธกิจกับชาติพันธุ์ในทางภาคเหนือด้วย

มิชชั่นนารีชีวิตแห่งผู้เสียสละ

       เดือนกรกฏาคม ค.ศ.1951 Orville Cawson และ Hap Holsinger ชื่อในภาษาเมี่ยนคือ “ย่าง ฒือฮิน” และ “ย่างฒือฮ่วย” ทั้งสองท่านเคยทำงานกับชนเผ่าลีซูที่ยูนานในประเทศจีนมาก่อน ต่อมาได้เข้ามาทำการสำรวจเกี่ยวกับชาติพันธุ์ในประเทศไทย เมื่อทราบว่าบริเวณหมู่บ้านแม่สลอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย มีชนเผ่าลีซูอาศัยอยู่ จึงเดินทางไปเพื่อที่จะทำการประกาศกับชนเผ่าลีซู ในระหว่างการเดินทาง เกิดหลงทางเข้าไปหมู่บ้านแม่สลอง (ปัจจุบันเรียกบ้านเล่าสิบ) กซึ่งเป็นหมู่บ้านยิวเมี่ยน   ได้พบอักษรจีน ก่อนทางเข้าหมู่บ้าน ซึ่งเป็นการทำพิธีสู่ขวัญของชาวบ้านในหมู่บ้านนั้น เกิดความฉงนสนเท่ห์อย่างมาก จึงทำได้แวะเข้าไปในหมู่บ้านนั้น เมื่อเข้าไปในหมู่บ้านก็ได้พบและสนทนากับนายชุนเสี่ยว แซ่ฟุ้ง ซึ่งสามารถพูดภาษาจีนยูนาน   ต่อมานายเล่าหลู่(ก๊วยชีง) หัวหน้าหมู่บ้านทราบความเข้า ท่านคิดว่าเป็นทหารฝรั่งเศสมาตามให้ท่านกลับไปยังประเทศลาว    ท่านจึงหนีไปหลบซ่อนตัวเสีย   สุดท้ายเมื่อรู้ความจริงเข้า จึงได้ต้อนรับมิชชันนารีทั้งสองท่านเป็นอย่างดี    ท่านได้ชวนเชิญให้มิชชันนารีพักที่นั่นสองคืน

ได้ไตร่ถามถึง เรื่องพระผู้สร้าง ผี มนุษย์มาจากไหน เป็นต้น แต่ท่านยังหาได้ต้อนรับองค์พระเยซูคริสต์หรือไม่

บรรพชนแห่งความเชื่อ

           ปี ค.ศ.1952   ในการไปประกาศครั้งที่ 18 ของ Allvn Cooke นายเล่าหลู่(ก๊วยชีง) ได้กลับใจมาเป็นคริสเตียนคนแรก แม้ว่าครอบครัวจะไม่เห็นด้วย แต่ท่านหาได้ล้มเลิกในการเป็นคริสเตียนหรือไม่ ททั้งยืนยันว่าจะเชื่อไปพลางๆ ก่อน ถ้าไม่ดีจริงก็จะเลิกเชื่อไปเอง ต่อมาหลายท่านกลับเห็นว่าการเป็นคริสเตียนนั้นเป็นสิ่งที่ดี   เพราะไม่ต้องเลี้ยงผี ไม่ต้องกลัวอำนาจผี แต่ก็ยังไม่มีใครรับเชื่อในพระเจ้า

           สมัยนั้นเกือบทุกคนต่างก็ติดฝิ่นกัน หลังจากนายเล่าหลู่เป็นคริสเตียนก็ได้เลิกสูบฝิ่น   แม้ว่าติดฝิ่นมาไม่น้อยกว่า 20 ปี   อาจารย์ Cooke ได้นำท่าน และหลายท่านที่ติดฝิ่นไปตัดฝิ่น   ที่โรงพยาบาลคริสเตียนโอเวอร์บรุ๊คเชียงราย สองเดือนต่อมา ท่านก็ได้เลิกสูบฝิ่น    

ช่วงแรกของการทำพันธกิจในหมู่บ้านยิวเมี่ยนนั้น   มิชชั่นนารีได้รับคำเชิญชวนจากนายเล่าหลู่ให้ไปพักที่บ้านของท่านประมาณ 10 วัน สั่งสอนเรื่องของพระเจ้า ทุกครั้งที่ไปมิชชันนารีก็มักจะนำยารักษาโรคไปแจกให้แก่คนเจ็บคนป่วยด้วย การเติบโตของพันธกิจในท่ามกลางยิวเมี่ยนในเวลานั้นพอจะสรุปสั้น ๆ ได้ดังต่อไปนี้

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1953 ชาวบ้านได้สร้างที่พักให้ครอบครัว Enic Cox (ก๊วยเม่ง/ชื่อเมี่ยน)

พฤษภาคม 1953    มิชชั่นนารีได้เข้าไปประจำการที่แม่สลอง/คริสตจักรแห่งแรกเกิดขึ้นที่แม่สลอง

มกราคม 1954 ทำพิธีถวายโบสถ์ยิวเมี่ยนแห่งแรกในประเทศไทย มีการนมัสการทุกวันอาทิตย์สองรอบ คือช่วงเช้า และช่วงบ่าย มีคนมานมัสการประมาณ 60-70 คน

วันที่ 8 ธันวาคม 1957 มีการการรับบัพติศมาครั้งแรก ซึ่งตอนแรกนั้นมีเพียงนายเล่าหลู่จะรับศีลบัพติศมาท่านเดียว   แต่ท่านได้ชวนนาย ก๊วยเซ็งให้รับศีลบัพติศมาด้วย มีการแจ้งให้ที่ประชุมทราบในคืนวันเสาร์ แต่พอวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันที่จะให้ศีลบัพติศมาก็มีคนขอรับเพิ่มอีกเป็น 13 คน แล้วก็ได้มีการร่วมรับศีลมหาสนิทซึ่งเป็นครั้งแรก ต่อมามีการให้บัพติศมาอีกหลายครั้งและผู้ที่รับบัพติศมานั้นเป็นยิวเมี่ยนที่มาจากหลายหมู่บ้านเช่น บ้านแม่แพง บ้านป่าคา บ้านหนองแว่น บ้านนิคม บ้านขุนบง และบ้านคลองลาน

 

 

patwithschoolkidinline

บ้านพักอัศจรรย์ สำหรับลูกหลานคนเมี่ยนอาศัยอยู่ และมีการศึกษา ที่ อ. งาว จ.ลำปาง

 

ที่มาของคริสตจักรยิวเมี่ยนกรุงเทพ

การกระทำตามพระมหาบัญชาของพระเยซูคริสต์   โดยมิชชันนารีผู้เสียสละหลายดวงชีวิต ยอมทุกข์ยาก บุกป่าฝ่าดง ขึ้นเขาไปตามหาชนเผ่าทั้งหลาย    พระกิตติคุณจึงได้เข้ามาถึงชนเผ่าเมี่ยนประมาณ 62 ปีแล้ว หลายชีวิตได้รับความรอดโดยความเชื่อวางใจในพระเยซูคริสต์ มีสันติสุขใจได้คืนดีกับพระเจ้า พระผู้สร้าง และมีสันติสุขแท้ในชีวิต

           การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ ศาสนา สังคม และค่านิยม ในยุคโลกาภิวัฒน์ ทำให้เกิดการโยกย้ายที่อยู่อาศัยของประชากรโลก พี่น้องชาติพันธุ์ก็เช่นกันได้ย้ายถิ่นฐานที่อยู่อาศัยเข้ามาอยู่ในเมืองกัน โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานคร มีประชากรหนาแน่นมาก มีทุกชาติพันธุ์ของไทย      

           ปี 1993 คริสเตียนยิวเมี่ยนที่โยกย้ายมาอาศัยอยู่ในกรุงเทพได้มีการพบปะ นมัสการด้วยกันในช่วงบ่ายของวันอาทิตย์ ณ. บ้านเลขที่ 68 ซ.ศึกษาวิทยา (สาทรเหนือ ซอย 12) สีลม บางรัก 10500 แต่เนื่องจากสถานที่คับแคบเกินไป จึงได้ย้ายเข้าไปใช้อาคารห้องสมุดเก่าของพระคริสตธรรมกรุงเทพ ซอย สาทร 10สาทรเหนือ แขวง สีลม เขต บางรัก กรุงเทพม มีการนมัสการและจัดคริสตมาสยิวเมี่ยนครั้งแรกขึ้นที่นั่น

 

 

callawayandwife

ภาพอาจารย์แคลาเวย์และภรรยา ครอบครัวมิชชันนารีใช้ทั้งชีวิตเพื่อคนยิวเมี่ยน

 

 

ราวปี 1994 มิชชั่นนารีหลายท่าน ได้แก่ อาจารย์หมอเฮนรี่ ไบรเดนธอล ครอบครัวอาจารย์แคลาเวย์   ผู้รับใช้เมี่ยน และนักศึกษาเมี่ยนพระคริสตธรรมกรุงเทพ ได้พบปะปรึกษาหารือกันที่คริสตจักรร่วมจิต 73 ซ. สุวรรณสวัสดิ์ ถ. พระราม 4 เขตสาทร กทม . 10120 เพื่อให้มีคริสตจักรยิวเมี่ยนกรุงเทพเกิดขึ้น

 

 

manyppleattable

ภาพการพบปะปรึกษาหารือ ที่ คริสตจักรร่วมจิต กรุงเทพ ถึงการเปิดคริสตจักรยิวเมี่ยนกรุงเทพ

 

 

 

การนมัสการของพี่น้องยิวเมี่ยนกรุงเทพได้หยุดชะงักลง   เนื่องจากขาดบุคลากรที่จะดำเนินงานเต็มเวลา แต่ก็มีการจัดงานคริสตมาสร่วมกันเป็นครั้งที่ 2 ที่บ้านพักของคณะ ซี เอ็ม เอ กรุงเทพ

 

 

firstmienbkkchristmas

ภาพคริสตมาสเมี่ยนสัมพันธ์ครั้งที่ 2 ที่บ้านพักมิชชันนารี ซี เอ็ม เอ กรุงเทพ ปี 1996

ต่อมาผู้รับใช้ยิวเมี่ยนในกรุงเทพก็ยังมีการปรึกษาถึงแนวทางการเปิดคริสตจักรยิวเมี่ยนในกรุงเทพอีก ในเดือนพฤษภาคม นักศึกษายิวเมี่ยนพระคริสตธรรมกรุงเทพ ผู้รับใช้ยิวเมี่ยนพระคริสตธรรมพะเยา และยิวเมี่ยนสายสัมพันธ์บางท่าน ได้พบปะกันเพื่ออธิษฐานหาแนวทางนมัสการร่วมกันของพี่น้องยิวเมี่ยนกรุงเทพ  ต่อมาจึงมีการนมัสการในวันอาทิตย์ในช่วงเดือนมิถุนายน 2009 โดยใช้ที่ FEBC - ผู้ประกาศข่าวประเสริฐในประเทศไทย 9/22-23 ซ.ธนาอาเขต ถ.เอกมัย-สุขุมวิท 63 คลองตันเหนือ วัฒนา กรุงเทพฯ 10110 และในวันที่ 6 มิถุนายน 2010 ได้ย้ายไปนมัสการที่ 290/32 ม.รุ่งกิจ 2 ถนน รามคำเเหง ซอย 122 เเขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กทม. 10240 จนถึงปัจจุบันนี้

           ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา มีพี่น้องชาติพันธุ์ต่าง ๆ เช่น พี่น้องอาค่า พี่น้องลีซู ม้ง ปกาเกอะญอ(กะเหรี่ยง) จีน ไทย ฯ เข้ามานมัสการด้วยกัน เนื่องจากพี่น้องทุก ๆ เผ่าที่โยกย้ายมาตั้งรกรากอยู่ในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพ นั้น ต่างก็อยู่กระจัดกระจายกันไปทั่ว ไม่ว่าจะเป็นในกรุงเทพ และเขตปริมณฑล ปัญหาที่ทุกท่านย่อมทราบกันดีอยู่อย่างหนึ่งคือปัญหาการจราจร การเดินทาง พี่น้องส่วนใหญ่จึงต้องเลือกวิธีการเดินทางที่ประหยัดเวลามากที่สุด เช่น เลือกระยะเดินทางที่ใกล้เคียง วัน เวลา หรือ เส้นทางเดินทางที่มีการจราจรไม่ติดขัด เป็นต้น คริสตจักรยิวเมี่ยนกรุงเทพจึงมีหลายชนเผ่า ซึ่งเดินทางนมัสการในวันอาทิตย์

 

ปัจจุบันจึงมีการเรียกคริสตจักรยิวเมี่ยนกรุงเทพสั้น ๆ ว่า “คริสตจักรเมี่ยนกรุงเทพ” (Bangkok Mien Church=BMC) มีการเทศนา มีชั้นเรียนพระคัมภีร์เป็นภาษาไทย (โดยมีการแปลสำหรับผู้สูงวัย)

คำว่า”คริสตจักร” (church) มาจากศัพท์ภาษากรีกว่า ekklesia แปลว่า รวมตัวกัน, ที่ประชุม, การประชุม   คำว่าคริสตจักรจึงหมายถึงประชาคมของผู้เชื่อในพระเยซูที่มีอยู่ทั่วโลก และหลายครั้งยังใช้หมายถึงสถานที่ประชุม นมัสการของคริสเตียน ( โบสถ์)

           คำว่า “เมี่ยน” มีความหมายได้สองอย่าง คือ หมายถึง คนเย้า (ยิวเมี่ยน หรือ เมี่ยน) หรือหมายถึง มนุษย์ ดังที่ปรากฏในพระธรรม ยอห์น3: 16 ว่า “พระเจ้าทรงรักโลก (โลก=เมี่ยน หมายถึงมนุษย์ทุกคน)จึงประทานพระบุตรเพียงพระองค์เดียวของพระองค์เพื่อทุกคนที่มีความเชื่อในพระบุตรจะไม่พินาศแต่จะมีชีวิตนิรันดร” ``ทิน-ฮู่ง ด่ง หน่าย ฮนั้ม ลู่ง เดี๊ย เมี่ยน หธีง เฒาะ นิ่น เญย โดะ ตอน เหธย ปุน นิ่น บัว. หาย เต้า เสียน เขา ทิน-ฮู่ง เญย ตอน ไม้ หฒุ เหมียด มป่า ตุ๊ เหยียด ลิ์ว เญย แหม่ง.”

           คริสตจักรยิวเมี่ยนกรุงเทพ หรือคริสตจักรเมี่ยนกรุงเทพ จึงเป็นเหมือนบ้านหลังที่สอง หรือเป็นที่นมัสการ พบปะของพี่น้องทุกชาติพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นพี่น้องชนเผ่า คนไทย จีน ฯลฯ ด้วยพระคุณอันใหญ่ยิ่งของพระเจ้าเริ่มต้นโดยผ่านชีวิตที่เสียสละของมิชชั่นนารี ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบันนี้

 

 

christmasmien2009

ภาพคริสตมาสเมี่ยนสัมพันธ์ 2009 ที่คริสตจักรแจ้งกิตติคุณ กรุงเทพ

 

 

christmasmein2012

คริสตมาสเมี่ยนสัมพันธ์ 2011 ณ. คริสตจักรยิวเมี่ยนกรุงเทพ

 

mienchristmas2011

คริสตมาสเมี่ยนสัมพันธ์ 2011 ณ. คริสตจักรยิวเมี่ยนกรุงเทพ

 

mienincircle

ภาพพี่น้องชนเผ่าลีซู

 

homngpic

พี่น้องชนเผ่าม้ง

 

 

swingtrbe

การโล่ชิงช้าของพี่น้องชนเผ่า