เอเฟซัส 2.17-22

พระเจ้าทรงชอบพระทัยครอบครัว  จึงทรงสถาปนาครอบครัวไว้ตั้งแต่แรก โดยสร้างเอวา แล้วนำไปยังอาดัมให้เขาทั้งสองอยู่ด้วยกันเป็นครอบครัว     พระคัมภีร์ได้เปรียบเทียบคริสตจักรว่าเป็นเหมือนครอบครัว   ดังที่ในข้อ 19 กล่าวว่า “เหตุฉะนั้นท่านจึงไม่ใช่คนต่างด้าวต่างแดนอีกต่อไป แต่ว่าเป็นพลเมืองเดียวกับ ธรรมิกชน และเป็นครอบครัวของพระเจ้า”  พระเยซูทรงนำคนทั้งหลายเข้ามาในครอบครัวพระเจ้า

1.  โดยให้การบังเกิดใหม่ 
เราทุกคนเข้าเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวของพระเจ้าโดยการบังเกิดใหม่  

ก่อนที่เราจะเชื่อพระเยซูนั้น ตามสภาพฝ่ายร่างกายแล้ว เราเป็นคนต่างชาติ  “คนต่างชาติ” ไม่ใช่ “พลเมือง”  ไม่มีสัญชาติพระเจ้า เราไม่รู้จักพระเจ้า   อยู่นอกพระคริสต์ ขาดจากการเป็นพลเมืองของแผ่นดินสวรรค์   ไม่ได้รับหน้าที่และสิทธิอะไรใน ครอบครัวพระเจ้า  พระเยซูได้เสด็จมาในโลก และประกาศข่าวประเสริฐแก่คนที่อยู่ไกล และแก่คนที่อยู่ใกล้ด้วย   คนที่อยู่ไกล หมายถึง เราซึ่งเป็นคนต่างชาติ ส่วนคนที่อยู่ใกล้ ก็คือคนอิสราเอล หรือคนยิว  ทั้งคนต่างชาติและคนยิวต้องรับเชื่อพระเยซู จึงได้รับสิทธิเป็นบุตรของพระเจ้า    ตามที่พระเจ้าสัญญาว่า “แต่ส่วนบรรดาผู้ที่ต้อนรับพระองค์  ผู้ที่เชื่อในพระนามของพระองค์  พระองค์ก็ทรงประทานสิทธิให้เป็นบุตรของพระเจ้า (ยอห์น 1.12)    ผู้ใดเชื่อพระเยซูคริสต์ ก็ได้รับการบังเกิดใหม่   ผู้ใดบังเกิดใหม่ ผู้นั้นก็อยู่ในครอบครัวของพระเจ้า เป็นชุมชนของพระเจ้า คือ คริสตจักร

2.  การทรงเป็นพระบิดาของครอบครัว
ก่อนที่เราจะรับเชื่อเราเป็นทาสของบาป เป็นลูกของมาร และเราก็ทำตามความปรารถนาของมาร “พวกท่านมาจากพ่อของท่าน คือมาร   มันเป็นฆาตรกร”   (ยน 8:44)  “อยู่ใต้อำนาจของภูตผีปีศาจ” (คส 2:20) แต่พระวิญญาณของพระเจ้า “นำผู้ใด   ผู้นั้นก็เป็นบุตรของพระเจ้า 15เหตุว่าท่านไม่ได้รับน้ำใจทาสซึ่งทำให้ตกในความกลัวอีก   แต่ท่านได้รับพระวิญญาณผู้ทรงให้เป็นบุตรของพระเจ้า   ให้เราทั้งหลายร้องเรียกพระเจ้าว่า   “อับบา”   คือพระบิดา 16พระวิญญาณนั้นเป็นพยานร่วมกับวิญญาณจิตของเราทั้งหลายว่า   เราทั้งหลายเป็นลูกของพระเจ้า (รม 8:15-16) ให้เรา “เลียบแบบของพระเจ้าให้สมกับเป็นบุตรที่รัก” (อฟ 5:1) “ให้เราละทิ้งความเท็จ และอย่าให้โอกาสแก่มาร” ( อฟ 5:25,27)

3. การรับมรดกในครอบครัวพระเจ้า

17และถ้าเราทั้งหลายเป็นบุตรแล้ว   เราก็เป็นทายาท   คือเป็นทายาทของพระเจ้า   และเป็นทายาทร่วมกับพระคริสต์   เมื่อเราทั้งหลายทนทุกข์ทรมานด้วยกันกับพระองค์นั้น   ก็เพื่อเราทั้งหลายจะได้ศักดิ์ศรีด้วยกันกับพระองค์ด้วย   (โรม 8:13-17) (กาลาเทีย 4.6-7)
“พระเจ้าทรงปราบทุกสิ่งลงไว้ใต้พระบาทของพระคริสต์ และประทานพระคริสต์แก่คริสตจักร ให้เป็นนายเหนือทุกสิ่ง” (อฟ 1:22)

3.  การเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง พระเยซูทรงอธิษฐานเพื่อสาวกที่ใกล้ชิดของพระองค์ (ยน 17: 6-19 ค) พระองค์อธิษฐานเพื่อคริสตจักรสากล คือคริสเตียนทุกสมัย (ข้อ 20-26)
20“ข้าพระองค์มิได้อธิษฐานเพื่อคนเหล่านี้พวกเดียว   แต่เพื่อคนทั้งปวงที่วางใจในข้าพระองค์เพราะถ้อยคำของเขา 21เพื่อเขาทั้งหลายจะได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน   ดังที่พระองค์   คือพระบิดาทรงสถิตในข้าพระองค์   และข้าพระองค์ในพระองค์   เพื่อให้เขาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระองค์   และกับข้าพระองค์ด้วย   เพื่อโลกจะได้เชื่อว่าพระองค์ทรงใช้ข้าพระองค์มา 9ข้าพระองค์อธิษฐานเพื่อเขา   ข้าพระองค์มิได้อธิษฐานเพื่อโลก   แต่เพื่อคนเหล่านั้นที่พระองค์ได้ประทานแก่ข้าพระองค์   เพราะว่าเขาเป็นของพระองค์ (ยน 17:9) พระองค์ทรงทราบว่า จะมีปัญหาเกิดขึ้นในท่ามกลางผู้เชื่อ     เช่นคริสตจักรเอเฟซัส สมาชิกซึ่งเป็นคนยิว   กับสมาชิกที่เป็นคนต่างชาติเข้ากันไม่ค่อยได้   2จงมีใจถ่อมลงทุกอย่าง   และใจอ่อนสุภาพอดทนนาน   และอดกลั้นต่อกันและกันด้วยความรัก 3จงเพียรพยายามให้คงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน   ซึ่งพระวิญญาณทรงประทานนั้นด้วยสันติภาพเป็นพันธนะ 4มีกายเดียวและมีพระวิญญาณองค์เดียว   เหมือนมีความหวังใจอันเดียวที่เนื่องในการที่ทรงเรียกท่าน 5มีองค์พระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว   ความเชื่อเดียว   บัพติศมาเดียว 6พระเจ้าองค์เดียวผู้เป็นพระบิดาของคนทั้งปวง (เอเฟซัส 4.2-6)

นำมาใช้ 

พระเจ้าทรงประทานความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้เรา เราจำเป็นต้องรักษามันไว้

คนยิวไม่สามารถดูหมิ่นคนต่างชาติ หรือบังคับให้คนต่างชาติทำตามพวกเขาได้ เพื่อที่จะเป็นส่วนหนึ่งในพระ คนต่างชาติก็ ไม่สามารถอวดอ้างตนเองได้เจ้า   เพราะพวกเขารอดก็โดยพระคุณพระเจ้า พระคัมภีร์กล่าวว่า 17แต่ถ้าทรงหักกิ่งบางกิ่งออกเสียแล้ว   และได้ทรงนำท่านผู้เป็นกิ่งมะกอกเทศป่า   มาต่อกิ่งไว้แทนกิ่งเหล่านั้น   เพื่อให้เข้าเป็นส่วนได้รับน้ำเลี้ยงจากรากต้นมะกอก 18ท่านก็อย่าอวดดีต่อกิ่งเหล่านั้น   ถ้าท่านอวดดี   ใช่ว่าท่านได้เลี้ยงรากนั้นก็หาไม่   แต่รากต่างหากเลี้ยงท่าน (รม11:17-18)  ในครอบครัวของพระเจ้า มีลักษณะพิเศษคือ

ประการแรก   เป็นพี่น้องกัน ทั้งคนยิว และคนต่างชาติ  ดังที่   ครั้งหนึ่ง พระเยซูทรงชี้ไปทางสาวกของพระองค์และตรัสว่า “นี่เป็นมารดาและพี่น้องของเรา ด้วยว่าผู้ใดจะกระทำตามพระทัยพระบิดาของเราผู้ทรงสถิตในสวรรค์ ผู้นั้นแหละเป็นพี่น้องชายหญิงและมารดาของเรา” (มัทธิว 12.49-50)   14ในพระบุตรนั้นเราจึงได้รับการไถ่   ซึ่งเป็นการทรงโปรดยกบาปทั้งหลายของเรา 15พระองค์ทรงเป็นพระฉายของพระเจ้า   ผู้ซึ่งไม่ประจักษ์แก่ตา   ทรงเป็นบุตรหัวปีเหนือสรรพสิ่งทั้งปวง 16เพราะว่าในพระองค์สรรพสิ่งได้ถูกสร้างขึ้น    (คส 1:15) คริสเตียนทุกคนจึงเรียกซึ่งกันและกันว่า “พี่” หรือ “น้อง” เพราะมีความสัมพันธ์เป็นพี่น้องในพระคริสต์  แบ่งปันสิ่งจำเป็น และแบ่งปันชีวิตโดยปราศจากความกลัว ความอาย ความเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตัว ขอบคุณพระเจ้าสำหรับพี่น้องที่มีส่วนในการช่วยเหลือซ่อมแซมโบสถ์ใหม่ ที่ 122 คุณไหน ช่วยซ่อมแซม พาคนงานมา 4-5 คน ช่วยกันทำ ถวายทั้งค่าแรง ถวายทั้งสายไฟ ส่วนคุณสันติ ช่วยต่อเติมซ่อมแซมอย่างดี งบประมาณค่าซ่อมที่ขาดอยู่เป็นแสน กว่า เขาก็มิได้เร่งลัดให้เราใช้ ช่างอะลูมิเนียม คุณพิทูรย์มาทำกระจก เห็นครอบครัวของแคะ   เจี้ยวฟินก๋อ ก็เป็นห่วงว่าจะไม่มีกับข้าวทาน ท่านได้ซื้ออาหารมาฝาก เอาตังค์ให้ซื้อกับข้าว เห็นไม่มีตู้เย็นใช้ ก็กลับไปเอาตู้เย็นเก่าที่เสียมาซ่อมให้ใช้      
ประการที่สอง ครอบครัวของพระเจ้าควรทำทุกอย่างตามพระทัยพระบิดา “นี่เป็นมารดาและพี่น้องของเรา ด้วยว่าผู้ใดจะกระทำตามพระทัยพระบิดาของเราผู้ทรงสถิตในสวรรค์ ผู้นั้นแหละเป็นพี่น้องชายหญิงและมารดาของเรา” (มัทธิว 12.49-50) ในครอบครัวของพระเจ้า ทุกคนควรเรียนรู้ถึงน้ำพระทัยของพระเจ้า โดยฟังเสียงของพระวิญญาณบริสุทธิ์    (1โครินธ์ 2:10-12)10พระเจ้าได้ทรงสำแดงสิ่งเหล่านั้นแก่เราทางพระวิญญาณ   เพราะว่าพระวิญญาณทรงหยั่งรู้ทุกสิ่งแม้เป็นความล้ำลึกของพระเจ้า 11อันความคิดของมนุษย์นั้น   ไม่มีผู้ใดหยั่งรู้ได้   เว้นแต่จิตวิญญาณของมนุษย์ผู้นั้นเองฉันใด   พระดำริของพระเจ้าก็ไม่มีใครหยั่งรู้ได้   เว้นแต่พระวิญญาณของพระเจ้าฉันนั้น 12เราทั้งหลายไม่ได้รับวิญญาณของโลก   แต่ได้รับพระวิญญาณซึ่งมาจากพระเจ้า   เพื่อเราทั้งหลายจะได้รู้ถึงสิ่งต่างๆ   ที่พระเจ้าได้ทรงโปรดประทานแก่เรา ผู้ใดอยู่ในพระคริสต์ย่อมทำตามพระเจ้าและเป็นที่พอพระทัยพระเจ้าโดยการทรงนำของพระวิญญาณ แต่คนทั้งหลายที่อยู่ฝ่ายพระวิญญาณ   ก็สนใจในสิ่งซึ่งเป็นของพระวิญญาณ 6ด้วยว่าซึ่งปักใจอยู่กับเนื้อหนัง   ก็คือความตาย   และซึ่งปักใจอยู่กับพระวิญญาณ   ก็คือชีวิตและสันติสุข 7เหตุว่าใจซึ่งปักอยู่กับเนื้อหนังนั้นก็เป็นศัตรูต่อพระเจ้า …………8และคนทั้งหลายที่อยู่ใต้เนื้อหนัง   จะเป็นที่ชอบพระทัยพระเจ้าก็หามิได้

9ถ้าพระวิญญาณของพระเจ้าทรงสถิตอยู่ในท่านทั้งหลายจริงๆแล้ว   ท่านก็มิได้อยู่ใต้เนื้อหนัง   แต่อยู่ใต้พระวิญญาณ   ผู้ใดไม่มีพระวิญญาณของพระคริสต์   ผู้นั้นก็ไม่เป็นของพระองค์ (รม. 8: 5-9) 10เพื่อท่านจะได้ประพฤติอย่างที่สมควรต่อองค์พระผู้เป็นเจ้า   และ ทำตนให้เป็นที่ชอบพระทัยพระองค์   ให้เกิดผลในการดีทุกอย่าง   และจำเริญขึ้นในความรู้ถึงพระเจ้า 11ขอให้ท่านมีกำลังมากขึ้นทุกอย่างโดยฤทธิ์เดชแห่งพระสิริของพระองค์   ขอให้ท่านมีความทรหดที่สุด   และความอดทนไว้นานด้วยความยินดี 12ให้ขอบพระคุณพระบิดา   ผู้ทรงทำให้เราทั้งหลาย สมกับที่จะเข้าส่วนได้รับมรดกด้วยกันกับธรรมิกชนในความสว่าง 13พระองค์ได้ทรงช่วยเราให้พ้นจากอำนาจของความมืด   และได้ทรงย้ายเรามาตั้งไว้ในแผ่นดินแห่งพระบุตรที่รักของพระองค์ (คส 1:10-13)
ประการที่สาม  ครอบครัว เป็นที่อบอุ่น มีการตกแต่งภายในบ้าน มีรูปคนในครอบครัวติดผนัง มีอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคนในบ้าน   มีกลิ่นอาหารอันหอมหวล     มีการดูแลซึ่งกันและกัน  มีคนหนึ่งคนใดเจ็บป่วย ทุกคนเดือดร้อนใจกันหมด คนหนึ่งกลับบ้านช้าอีกคนพว้าพวง   ไม่กินก่อนทั้งนอนก็ไม่หลับ   เสียงหัวเราะ  เสียงร้องไห้ของเด็กล้วนแต่เป็นบรรยากาศที่อบอุน  ในบ้าน มีการพักผ่อน ความปลอดภัย และความสุข   เช่นกันเราจำเป็นต้องสร้างบรรยากาศเหล่านี้ภายในคริสตจักร อาทิตย์ที่แล้วเราได้แวะไปที่ใหม่ น้องโอโซนขอกระดาษ ปากกา สกอตเทป เพื่อที่จะเขียนป้ายจับจอง ห้องสำหรับเด็ก การกระทำเช่นนี้ทำให้เราเห็นถึงความผูกพันของเขาที่มีต่ออาคารคริสตจักร โอโซนจะต้องรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรยิวเมี่ยนกรุงเทพแน่ ไม่เช่นนั้นเขาคงไม่กล้า หรือไม่อยากที่จะจับจอง หาห้องสำหรับกลุ่มเด็ก ๆ ของพวกเขา

นี่คือภาพของครอบครัวหรือคริสตจักรที่แข็งแรงที่พระเยซูทรงปรารถนา

1. ให้เวลา พระองค์ทรงให้เวลา แม้ในข่วงเวลาที่ยุ่งที่สุด พระองค์ก็ยังทรงให้เวลากับสาวกเสมอ ตัวอย่างเหตุการณ์เช่น ขณะที่ยอห์นผู้ให้บัพติสมาเสียชีวิต พระเยซูคริสต์ทรงเศร้า และทรงต้องการปลีกตัวไปตามลำพัง แต่ฝูงชนก็ยังติดตามพระองค์ไป ท่าทีที่พระองค์มีก็คือ พระองค์ก็ยังทรงเลือกที่จะให้เวลากับฝูงชน ยิ่งเราโต เวลายิ่งแพง เป็นสิ่งที่ให้ยาก

2. ให้แรง ดังที่พระองค์ทรงล้างเท้าให้เหล่าสาวก และพระองค์ก็ได้ทรงสั่งให้เราปรนนิบัติพี่น้อง

"เพราะว่าบุตรมนุษย์มิได้มาเพื่อรับการปรนนิบัติ แต่ท่านมาเพื่อจะปรนนิบัติเขา และประทานชีวิตของท่านให้เป็นค่าไถ่คนเป็นอันมาก" (มาระโก 10:45)

3. ให้เงิน มีผู้ที่กล่าวว่าเงินเป็นสิ่งที่ให้ง่ายที่สุด

4. ให้คำสอน พระองค์ทรงสอนด้วยสิทธิอำนาจ ทรงสอนเตือนแก่เหล่าสาวก

5. ให้อารมณ์ร่วม พระองค์ทรงร้องไห้ที่สวนเกเศมณี เมื่อลาซารัสตาย เมื่อพระองค์ทรงกล่าวถึงอนาคตของเยรูซาเล็ม ความรู้สึกร่วมเป็นสิ่งที่สำคัญ เราไม่สามารถบังคับตัวเองได้ แต่จะเป็นสิ่งที่จะออกมาจากใจของเรา เป็นสิ่งที่ออกมาโดยอัตโนมัติเมื่อเราร่วมทนทุกข์กับเขา

"จงชื่นชมยินดีกับผู้ที่มีความชื่นชมยินดี จงร้องไห้กับผู้ที่ร้องไห้" (โรม 12:15)

6. ให้คำอธิษฐาน ยอห์น 17 เวลาที่พระองค์ใกล้จะต้องทนทุกข์ ก็ทรงอธิษฐานเพื่อสาวกของพระองค์ เพื่อเราทั้งหลาย

7. ให้ชีวิต พระองค์ทรงสละชีวิตของพระองค์เพื่อเรา